(ธนวินท์)บทความที่น่าสนใจ ประยุทธ จันทร์โอชา

 





พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา ม.ป.ช. ม.ว.ม. ต.จ.ว. ร.ม.ก. (เกิด 21 มีนาคม พ.ศ. 2497) ชื่อเล่น ตู่ เป็นทหารบกและนักการเมืองชาวไทย องคมนตรี อดีตนายกรัฐมนตรีไทยคนที่ 29 รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม ผู้บัญชาการทหารบก และหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ซึ่งก่อรัฐประหาร พ.ศ. 2557 และเป็นคณะรัฐประหารที่ปกครองประเทศไทย ตั้งแต่ 22 พฤษภาคม พ.ศ. 2557 จนถึง 16 กรกฎาคม พ.ศ. 2562 เป็นระยะ 5 ปี 1 เดือน 3 สัปดาห์ 3 วัน

ในวันที่ 26 มกราคม พ.ศ. 2566 เขาดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีอย่างยาวนานกว่า พลเอก เปรม ติณสูลานนท์ ครองตำแหน่งนายกรัฐมนตรีตามระยะเวลาดำรงตำแหน่งรวมทุกวาระเป็นอันดับที่ 3 ของประเทศไทยและครองอำนาจหัวหน้าคณะรัฐประหารที่ปกครองประเทศไทยยาวนานเป็นอันดับที่ 3 เช่นกัน

เขาเป็นนักเรียนเตรียมทหารรุ่นที่ 12 นักเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้ารุ่นที่ 23 และเป็นศิษย์เก่าวิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร เข้ารับราชการครั้งแรกที่กรมทหารราบที่ 21 รักษาพระองค์ จากนั้นได้รับราชการในสังกัดกองพลทหารราบที่ 2 รักษาพระองค์ตามลำดับ นอกจากนั้นเขายังอยู่ในกลุ่มทหารบูรพาพยัคฆ์และทหารเสือราชินี เขาเป็นอดีตผู้บัญชาการทหารบกซึ่งดำรงตำแหน่งระหว่างเดือนตุลาคม พ.ศ. 2553 ถึงตุลาคม พ.ศ. 2557 หลังการแต่งตั้ง เขามีลักษณะนิยมเจ้าอย่างเข้มข้น และปรปักษ์ของอดีตนายกรัฐมนตรี ทักษิณ ชินวัตร ถือได้ว่าเขาเป็นสายแข็ง (hardliner) ในกองทัพ เป็นผู้สนับสนุนแนวหน้าของการสลายการชุมนุมของคนเสื้อแดงในเดือนเมษายน พ.ศ. 2552 และเมษายน–พฤษภาคม พ.ศ. 2553[2] ต่อมาเขามุ่งวางตนเป็นกลาง โดยพูดคุยกับญาติผู้ประท้วงที่เสียชีวิตในเหตุการณ์[3] และร่วมมือกับรัฐบาลยิ่งลักษณ์[4] ซึ่งชนะการเลือกตั้งในเดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2554 ระหว่างวิกฤตการณ์การเมืองซึ่งเริ่มในเดือนพฤศจิกายน 2556 ต่อรัฐบาลยิ่งลักษณ์ เขาอ้างว่ากองทัพเป็นกลาง[5] และจะไม่รัฐประหาร ทว่า เมื่อวันที่ 22 พฤษภาคม พ.ศ. 2557 พลเอกประยุทธ์รัฐประหาร[6] สุเทพ เทือกสุบรรณเปิดเผยว่า ตนกับประยุทธ์วางแผนโค่นทักษิณด้วยตั้งแต่ปี พ.ศ. 2553[7]

วันที่ 21 สิงหาคม พ.ศ. 2557 สภานิติบัญญัติแห่งชาติมีมติเอกฉันท์เลือกเขาเป็นนายกรัฐมนตรี ซึ่งสมาชิกสภานั้นถูก คสช. เลือกมาทั้งหมด[8] คสช. สั่งปราบปรามผู้เห็นแย้ง ห้ามการอภิปรายสาธารณะเกี่ยวกับประชาธิปไตยและการวิจารณ์รัฐบาล จำกัดเสรีภาพในการแสดงออกในประเทศไทยอย่างหนัก[9] ในปี พ.ศ. 2562 รัฐสภาลงมติเลือกเขาเป็นนายกรัฐมนตรีอีกสมัย ในวาระที่สอง เขาถูกวิจารณ์ในเรื่องการจัดการกับผลกระทบของโควิด-19 การกู้เงินจำนวนมาก ตลอดจนการละเมิดสิทธิมนุษยชนต่าง ๆ

ในการเลือกตั้ง พ.ศ. 2562 พรรคพลังประชารัฐเสนอชื่อพลเอกประยุทธ์เป็นนายกรัฐมนตรี เขาได้รับคะแนนไว้วางใจเกินกึ่งหนึ่งของรัฐสภาจึงได้เป็นนายกรัฐมนตรีอีกสมัย ต่อมาในเดือนมกราคม พ.ศ. 2566 เขาได้สมัครเป็นสมาชิกพรรครวมไทยสร้างชาติ (รทสช.) โดยได้รับการแต่งตั้งเป็นประธานคณะกรรมการกำหนดแนวทางและยุทธศาสตร์ของ รทสช. และได้รับการเสนอชื่อให้เป็นผู้สมัครนายกรัฐมนตรีในบัญชีรายชื่อของพรรคไปโดยปริยาย ก่อนจะประกาศวางมือทางการเมืองในเดือนกรกฎาคมปีเดียวกัน กระทั่งวันที่ 29 พฤศจิกายน พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัวมีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งให้พลเอกประยุทธ์ดำรงตำแหน่งองคมนตรี[10][11]

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

thanawin

10แหล่งท่องเที่ยวในจังหวัดเชียงใหม่

อัตลักษณ์ลำพูน